[มือสอง] ธนบัตร "ลีฟอเทีย" ต้นกำเนิดธนาคารออมสิน
607 สัปดาห์ ที่แล้ว
- นนทบุรี - คนดู 695
250,000 ฿
รายละเอียด
บริษัท "ลีฟอเทีย" เป็นธนาคารที่ก่อตั้งโดยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าฯ รัชกาลที่ 6
และข้าราชบริพารผู้ใกล้ชฃิดพระองค์ อันเป็นต้นแบบการก่อตั้งธนาคารออมสินในเวลาต่อมา
บัตรธนาคาร บริษัท ลีฟอเทีย ชนิดราคา 5 บาท มีตัวเลขอยู่ที่มุมทั้งสี่ ส่วนตัวอักษรอยู่ตรงกลางล่าง
ในกรอบสี่เหลี่ยมมีลวดลาย มีหมายเลขธนบัตร XXXXXXXX อยู่ด้านบนซ้าย แลัวันที่ 1 เมษายน รศ.125
(พ.ศ.2450) อยู่ด้านบนขวา ขนาดประมาณ 16.5 X 8.1 ซม. พิมพ์ในประเทศ มีหน้าเดียว อักษรสีส้ม
เป็นภาษาไทยล้วน ข้อความเดียวกันกับธนบัตรรุ่นที่ 2 แบบ 1 (ไถนา) ว่า "สัญญาจะจ่ายเงินให้แก่
ผู้นำใบสัญญานี้มาขึ้นเป็นเงินตราสยาม" ลงนามโดย "เฟื้อ" (ม.ล. เฟื้อ พึ่งบุญ ณ อยุธยา) เป็นเจ้าพนักงาน
การเงิน และ "วชิราวุธ" (พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าฯ) เป็นผู้จัดการธนาคาร ปัจจุบันอยู่ที่หอวชิราวุธ
ในบริเวณหอสมุดแห่งชาติ ท่าวาสุกรี อีกฉบับหนึ่งพบเห็นมีการประมูลโดยบริษัทเอกชนในประเทศไทย
เมื่อหลายปีก่อน ในราคา XXX,XXX.00 บาท
ตัวธนบัตรมีร่องรอยการใช้งานหนัก แต่ตัวอักษรยังสามารถอ่านออกชัดเจน
ข้อความจาก "สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ" เล่ม 2 กรุงเทพมหานคร กล่าวถึงไว้ดังนี้
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะทรงดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช
สยามมกุฎราชกุมาร เริ่มมีพระราชดำริขึ้นด้วยพระราชประสงค์จะให้มหากเล็กของพระองค์
ได้รับการฝึกอบรมการออมทรัพย์ตั้งแต่อายุยังน้อย จึงโปรดให้เตรียมสำนักงานคลังออมสินขึ้น
ที่พระราชตำหนักสวนจิตรลดาอันเป็นที่ประทับ แล้วทรงประกาศตั้งเป็นธนาคารหรือแบงก์ขึ้น
โดยพระราชทานนามว่า "ลีฟอเทีย" คำนี้เป็นคำย่อ โดย "ลี" แปลว่าโตหรือใหญ่แปลงมาจากพระนาม
ที่รู้จักกันในราชสำนักว่า "ทูลกระหม่อมโต" ทรงดำรงตำแหน่งประธานกรรมการ "ฟอ" มาจากคำว่า "เฟื้อ"
คือ ม.ล. เฟื้อ พึ่งบุญ ณ อยุธยา (พระนามเดิมของพลเอกเจ้าพระยารามราฆพ) กรรมการผู้จัดการ
และคำว่า "เทีย" มาจากคำว่า เทียบ อัศวรักษ์ (นามเดิมของพระยาคธาธรบดี) ซึ่งเป็นกรรมการ
ฉบับที่เสนอขายนี้เป็นราคา 1 บาท
ขออภัย ขายแล้วครับ
๐๗/๐๖/๒๕๕๖
และข้าราชบริพารผู้ใกล้ชฃิดพระองค์ อันเป็นต้นแบบการก่อตั้งธนาคารออมสินในเวลาต่อมา
บัตรธนาคาร บริษัท ลีฟอเทีย ชนิดราคา 5 บาท มีตัวเลขอยู่ที่มุมทั้งสี่ ส่วนตัวอักษรอยู่ตรงกลางล่าง
ในกรอบสี่เหลี่ยมมีลวดลาย มีหมายเลขธนบัตร XXXXXXXX อยู่ด้านบนซ้าย แลัวันที่ 1 เมษายน รศ.125
(พ.ศ.2450) อยู่ด้านบนขวา ขนาดประมาณ 16.5 X 8.1 ซม. พิมพ์ในประเทศ มีหน้าเดียว อักษรสีส้ม
เป็นภาษาไทยล้วน ข้อความเดียวกันกับธนบัตรรุ่นที่ 2 แบบ 1 (ไถนา) ว่า "สัญญาจะจ่ายเงินให้แก่
ผู้นำใบสัญญานี้มาขึ้นเป็นเงินตราสยาม" ลงนามโดย "เฟื้อ" (ม.ล. เฟื้อ พึ่งบุญ ณ อยุธยา) เป็นเจ้าพนักงาน
การเงิน และ "วชิราวุธ" (พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าฯ) เป็นผู้จัดการธนาคาร ปัจจุบันอยู่ที่หอวชิราวุธ
ในบริเวณหอสมุดแห่งชาติ ท่าวาสุกรี อีกฉบับหนึ่งพบเห็นมีการประมูลโดยบริษัทเอกชนในประเทศไทย
เมื่อหลายปีก่อน ในราคา XXX,XXX.00 บาท
ตัวธนบัตรมีร่องรอยการใช้งานหนัก แต่ตัวอักษรยังสามารถอ่านออกชัดเจน
ข้อความจาก "สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ" เล่ม 2 กรุงเทพมหานคร กล่าวถึงไว้ดังนี้
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะทรงดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช
สยามมกุฎราชกุมาร เริ่มมีพระราชดำริขึ้นด้วยพระราชประสงค์จะให้มหากเล็กของพระองค์
ได้รับการฝึกอบรมการออมทรัพย์ตั้งแต่อายุยังน้อย จึงโปรดให้เตรียมสำนักงานคลังออมสินขึ้น
ที่พระราชตำหนักสวนจิตรลดาอันเป็นที่ประทับ แล้วทรงประกาศตั้งเป็นธนาคารหรือแบงก์ขึ้น
โดยพระราชทานนามว่า "ลีฟอเทีย" คำนี้เป็นคำย่อ โดย "ลี" แปลว่าโตหรือใหญ่แปลงมาจากพระนาม
ที่รู้จักกันในราชสำนักว่า "ทูลกระหม่อมโต" ทรงดำรงตำแหน่งประธานกรรมการ "ฟอ" มาจากคำว่า "เฟื้อ"
คือ ม.ล. เฟื้อ พึ่งบุญ ณ อยุธยา (พระนามเดิมของพลเอกเจ้าพระยารามราฆพ) กรรมการผู้จัดการ
และคำว่า "เทีย" มาจากคำว่า เทียบ อัศวรักษ์ (นามเดิมของพระยาคธาธรบดี) ซึ่งเป็นกรรมการ
ฉบับที่เสนอขายนี้เป็นราคา 1 บาท
ขออภัย ขายแล้วครับ
๐๗/๐๖/๒๕๕๖