[มือสอง] พระพุทธชินราชอินโดจีนแต่งสวยสุดยอดปี2485
รายละเอียด
รายละเอียด
พ.ศ. 2485 ประเทศไทยประสบปัญหาทางด้านการเมือง ซึ่งหลังจากปัญหา ต่างๆได้กลับคืนสู่สภาวะปกติแล้ว จึงได้มีการก่อตั้งองค์กรหนึ่งขึ้นมาชื่อว่า " พุทธสมาคมแห่งประเทศไทย " ซึ่งเป็นการรวมตัวระหว่าง พุทธธรรมสมาคม กับ ยุวพุทธสาสนิกสมาคม จึงได้มีการคิดที่จะทำการหล่อ พระพุทธชินราชจำลองขึ้น ดังรายละเอียดดังต่อไปนี้
1. ชนิดที่ทำการสร้าง พระพุทธชินราชจำลองที่สร้างขึ้น แบ่งออกเป็น 2 ชนิดคือ
- พระบูชา จะสร้างโดยใช้วิธีหล่อเป็นพระขัดเงามีเรือนแก้วขนาดหน้าตักขนาดใหญ่เพื่อ สำหรับจัดส่ง ไปประจำจังหวัดต่างๆ ทั่วเมืองไทย พระพุทธรูปชนิดนี้ หากประชาชนปรารถนาจะสร้างไว้สำหรับสักการะบูชา ของตนเอง ก็ขอให้แสดงความจำนงเป็นลายลักษณ์อักษร พร้อมทั้งส่งเงินค่าสร้างองค์ละ ๑๕๐ บาท ไปยังคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ในพระบรมมหาราชวัง เพื่อจักได้รวบรวมจำนวนให้ช่างจัดการต่อไป
- พระเครื่อง มีการสร้างพระเครื่องขึ้นเป็น 2 วิธีคือ โดยวิธีหล่อ และ โดยวิธีปั๊ม
พระ เครื่องชนิดหล่อ จะทำการหล่อด้วยโลหะและมีรูปลักษณะทำนองพระยอดธง ด้านหน้าเป็นรูปพระพุทธชินราช มีเรือนแก้ว และมีรูปดอกเลาบานประตูพระวิหารวัดพระศรีรัตนมหาธาตุข้างใต้ฐาน พระเครื่องชนิดนี้ ค่าสร้างองค์ละ1 บาท ในสมัยนั้น
พระเครื่องชนิดปั๊ม จะสร้างขึ้นโดยวิธีปั๊ม มีรูปลักษณะคล้ายเสมา ด้านหน้าเป็นรูปพระพุทธชินราชมีเรือนแก้ว ด้านหลังมีรูปดอกเลาบานประตูพระวิหารวัดพระศรีรัตนมหาธาตุพระเครื่องชนิดนี้ ค่าสร้างองค์ละ 50 สตางค์ ในสมัยนั้น
2.ผู้ประกอบพิธี
สมเด็จพระ สังฆราช ทรงเป็นประธานในพิธีหล่อพร้อมด้วยพระอาจารย์ผู้ทรงวิทยาคุณต่างๆ ทั่วราชอาณาจักร โดยพระชุดนี้ได้พิธีหล่อ และปลุกเศกในพระอุโบสถวัดสุทัศน์ฯ (ปี พ.ศ.2485) โดยมีท่านเจ้าประคุณ สมเด็จพระสังฆราชแพ (ติสสเทวะ) เป็นองค์ประธาน และท่านเจ้าคุณศรีสัจจญาณมุนี (สนธิ์) เป็นผู้ดำเนินการ ได้ทำพิธีลงทองถูกต้องตามตำหรับการสร้างพระกริ่ง-พระชัย ของวัดสุทัศน์นี้แล้ว ยังมีแผ่นทองจากท่านพระคณาจารย์ ที่นิมนต์มาร่วมพิธีปลุกเศกสมทบหล่อหลอมในครั้งนี้อีกด้วย จึงนับได้ว่า พิธีหล่อพระรูปจำลองพระพุทธชินราช เป็นพิธีที่ยิ่งใหญ่ ในสมัยรัตนโกสินทร์พิธีหนึ่ง ซึ่งเพียบพร้อมไปด้วย พระอาจารย์ที่มีชื่อเสียง ในยุคนั้น ดังปรากฏพระรายนาม ดังต่อไปนี้
รายนามพระอาจารย์ที่ร่วมปลุกเศก รูปจำลอง พระพุทธชินราช พ.ศ. 2485
สมเด็จ พระสังฆราช แพ (ประธาน) , พระศรีสัจจญาณมุนี (แม่งาน) , พระครูใบฎีกา , พระครูอาคมสุนทร , พระครูพิพัฒนบรรณกิจ , พระครูสรกิจพิศาล , พระครูสุนทรศิลาจารย์ ,พระครูพิบูลย์บรรณวัตร , พระครูสมถกิติคุณ , พระธรรมเจดีย์ , พระสุธรรมธีรุคณ , พระวิเชียรโมลี , พระพิมลธรรม , พระครูอรุณธรรมธาดา , พระครูสังฆพินิจ , พระมหาโพธิวงศาจารย์ , พระปลัดเสง , พระสังฆวรา , พระสมุทห์เชื้อ , พระครูถาวรสมณวงศ์ , พระพิษณุบุราจารย์ , พระครูวิสุทธิศีลาจาร , หลวงพ่อหลิม , พระอุบาลีคุณูปรมาจารย์ , พระวิสุทธิ์สมโพธิ์ , พระมงคลทิพมุนี , พระธรรมรังษี , พระญาณปริยัติ , พระสังกิจคุณ , พระปัญญาพิศาลการ , พระปริญัติบัณฑิต , สมเด็จพระมหาศรีวรวงศ์ , สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ , พระธรรมดิลก , พระครูวรเทย์มุนี , พระครูศรีพนัศนิคม , พระครูวิบูลย์คณารักษ์ , พนะครูสิทธิสารคุณ , พระครูกรุณาวิหารี , พระครูพัก , พระครูทองศุข , หลวงพ่ออิ่ม ,พระวิสุทธิรังษี , พระครูอดุลย์สมณกิจ , พระครูนิวิธสมาจารย์ , พระครูยติวัตรวิบูลย์ , หลวงพ่อเหมือน , พระครูธรรมสุนทร , พระครูนนทวุฒาจารย์ , พระครูนนทปรีชา , พระครูโศภณศาสนกิจ , หลวงพ่อแฉ่ง , สมเด็จพระวริญาณวงศ์ , พระสุพจน์มุรี , พระครูไพโรจน์มันตาคม , พระครูมหาชัยบริรักษ์ , พระครูสังวรศิลวัตร , พระครูวัตตโกศล , พระครูสุนทรโฆษิต , หลวงพ่อกบึง , หลวงพ่อไวย ,หลวงพ่อแช่ม , หลวงพ่อจง , หลวงพ่ออั้น , หลวงพ่อนอ , หลวงพ่อแจ่ม , หลวงพ่อเล็ก , หลวงพ่ออ่ำ , หลวงพ่อกรอง , หลวงพ่อจันทร์ , พระครูทิวากรรคุณ , พระราชโมลี , หลวงพ่อเกษีวิกรม , หลวงพ่อจันทร์ , พระครูมหาศิลสุนทร , พระครูศิลธรานุรักษ์ , หลวงพ่อพิธ , หลวงพ่ออ่ำ , หลวงพ่อทอง , พระมหาเมธังกร , พระสุเมธีวรคุณ , พระธรรมทานาจารย์สนธิ์
3. กำหนดวันและสถานที่ทำการหล่อ
จะ ประกอบพิธีหล่อที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดพิษณุโลก ในวันเสาร์ ขึ้น 5 ค่ำ เดือน 3 ตรงกับวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2485 ซึ่งเป็นวันระหว่างงานสมโภชพระพุทธชินราชประจำปี
4. นายช่างผู้ทำการหล่อ
กรมศิลปากรเป็นผู้ดำเนินการหล่อและออกแบบโดยตลอด
5.สถานที่ติดต่อสั่งจองเฉพาะพระเครื่อง
ที่ ข้าหลวงประชาจังหวัดและนายอำเภอทุกแห่งทั่วราชอาณาจักร์ และที่นายประมวล บูรณโชติ เลาขาธิการของสมาคม ณ สำนักงานพุทธสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระราชอุทยานสราญรมย์ จังหวัดพระนคร
6.เงินรายได้
จำนวนเงินรายได้ทั้งสิ้น เมื่อหักค่าใช้จ่ายแล้วจะได้แบ่งส่วนเฉลี่ยออกเป็น 3 ส่วนเท่าๆกัน เพื่อนำไปจัดการดังต่อไปนี้
- ให้กรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ สำหรับบำรุงส่งเสริมกิจการพระพุทธศาสนาและการกุศลสาธารณะต่างๆภายในจังหวัด
- ให้คณะกรรมการจังหวัดพิษณุโลก สำหรับบำรุงส่งเสริมกิจการพระพุทธศาสนา และการกุศลสาธารณะต่างๆภายในจังหวัด
- ให้พุทธสมาคมแห่งประเทศไทย เป็นทุนในการดำเนินกิจการเพื่อเผยแพร่พระพุทธศาสนาตามวัตถุประสงค์ของสมาคม
จาก เนื้อหาที่กล่าวมาทั้งหมด(หรือว่ายังไม่หมดรึเปล่า???ครับ ก็หาได้เท่านี้ครับ)พระพุทธชินราชอินโดจีน เป็นพระที่น่าหามาสะสม ซึ่ง ปัจจุบัน ยังพอหาเช่าได้ไม่ยากนัก ครับ สนใจโทร 0869036464พิมพ์แต่งสวยสะใจเซียน