[ใหม่] 10 ข้อควรรู้ที่ทำให้งานก่อสร้างล่าช้า

82 สัปดาห์ ที่แล้ว - กรุงเทพมหานคร - เขตยานนาวา - คนดู 6
รายละเอียด
10 ข้อควรรู้ที่ทำให้งานก่อสร้างล่าช้า



หลายคนที่อยู่ในวงการอสังหาฯ และวงการการก่อสร้าง ย่อมรู้ดีว่าการทำงานนั้นย่อมเกิดความล่าช้า คลาดเคลื่อน ไม่เป็นไปตามระยะเวลาที่กำหนด หรือดังที่ตั้งเป้าหมายเอาไว้ อย่างไรก็ตาม การเตรียมตัวและเตรียมความพร้อมที่ดีในการทำงานนั้นย่อมเป็นสิ่งที่สำคัญมาก หากใครที่ละเลยการเตรียมความพร้อมหรือการวางแผนที่ดี ย่อมนำมาซึ่งความเสียหายและข้อผิดพลาดที่จะตามมาอีกมากมายเลยทีเดียว ดังนั้นการก่อสร้างที่ดี ต้องรู้จักขั้นตอนและการจัดการที่ดีด้วย วันนี้ โรงเรียนธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ไทย จึงขอรวบรวมสาเหตุหลักๆที่เจอบ่อยๆ นำมาฝากเป็นความรู้แก่ทุกท่านกันครับ



1. การวางลำดับขั้นตอนการก่อสร้างไม่ดี

ประเด็นข้อนี้พบบ่อยครั้งมากในงานก่อสร้าง เนื่องจากผู้รับเหมาขาดความรู้ ประสบการณ์ หรือมีแต่ยังไม่มากพอทำให้การทำงานนั้นไม่รู้ขั้นตอนว่าอะไรควรทำก่อน-หลัง ทีมงานไหนต้องเข้าก่อน-เข้าหลัง ดังนั้นเมื่อขาดความรู้ความเข้าใจในข้อนี้จะทำให้เกิดปัญหาอย่างมาก สร้างความยุ่งยากและเสียเวลาตามมา เช่น

ไม่วางสลีฟท่อก่อนเทพื้น

ไม่เดินไฟให้เรียบร้อยก่อนปิดฝ้า

ติดตั้งบานประตูไม้ก่อน ทำให้กีดขวางคนเดิน

เข้าออกหรือทาสีกระเด็นโดน เกิดความเสียหาย

ฯลฯ



2. การจัดการคนในการก่อสร้างได้ไม่ดี

การจัดการคนในงานก่อสร้างก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่นอกจากผู้ควบคุมงานจะรู้ว่าช่างคนไหนเหมาะกับงานอะไรแล้ว แต่หากขาดความรู้ความเข้าใจว่า งานนี้ควรใช้แรงงานกี่คน เสร็จสิ้นภายในระยะเวลากี่วัน ไม่รู้ว่างานไหนควรใช้คนจำนวนเท่าไหร่ ใช้คนมากไปเกินกว่าความจำเป็นหรือไม่ นั่นอาจทำให้ผู้ควบคุมดูแล หรือตัวคุณนั้นอาจจะควบคุมงานได้ไม่ดีพอ เช่น งานเทคอนกรีต ถ้าคนน้อยไปทำให้เทได้ทีละนิด ปูนตายก่อน เทไม่ทัน ต้องสั่งรถปูนหลายรอบขึ้น ทำให้การทำงานช้าลง หรือกรณีมีคนมากเกินไป ทำให้กีดขวางการทำงานกันทำให้เป็นช้ากว่าคนน้อยกว่าได้ แถมเปลืองค่าแรงอีก



3. ไม่วางแผนในการสั่งวัสดุในการทำงานให้ดีในการก่อสร้าง

ในการก่อสร้าง วัสดุ-อุปกรณ์เป็นสิ่งที่สำคัญมาก ซึ่งสิ่งของเหล่านี้ต้องมีการสั่งล่วงหน้าถึงจะมีวัสดุที่เพียงพอต่อการทำงาน เช่น แผนพื้นสำเร็จรูปต้องสั่งผลิตก่อน หรือรถปูนที่ต้องจองคิว เป็นต้น ดังนั้นถ้าหากไม่รู้จักวางแผนหรือเตรียมงานไว้ล่วงหน้าว่าจะสั่งวัสดุเท่าไหร่ ต้องล่วงหน้ากี่วัน ก็จะทำให้เกิดปัญหาต่างๆมากมายที่พัวพันกันจนล้มเป็นโดมิโน่เลยทีเดียว ดังนั้นผู้ควบคุมงานหรือผู้รับเหมาจะต้องทำการดิวงานกับร้านหรือซัพพลายเออร์ต่างๆให้ดี เพื่อไม่ให้เกิดข้อผิดพลาดได้



4. เครื่องมือและเครื่องจักในการก่อสร้างไม่เพียงพอ

อย่างที่ได้กล่าวไปในข้างต้น ตัวอย่างที่ทำให้เข้าใจได้ง่ายๆเลยในเรื่องนี้คือ พวกเครื่องมือช่าง เช่น สว่าน ลูกหมู, แท่นตัดเหล็ก, ตู้เชื่อม ฯลฯ ซึ่งถ้าหากขาดอุปกรณ์เหล่านี้ หรืออื่นๆที่นอกเหนือจากที่กล่าวมานั้น นั่นก็ถือว่าเป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้การทำงานนั้นล่าช้ามากขึ้น



5. ไม่เคลียร์แบบการก่อสร้างให้ดี

ในการทำงานหากแบบ หรือรูปแบบไม่ชัดเจน อาจทำให้ช่างที่เป็นคนลงมือทำคิดเอาเองได้ ซึ่งทำให้เกิดความเข้าใจผิดในเนื้องานและเกิดข้อผิดพลาดตามมาที่หลัง โดยเฉพาะความขัดแย้งในเรื่องของ แบบสถาปัตย์กับโครงสร้าง ซึ่งถ้าทำงานผิดแบบไปแล้วนั้นจะต้องกลับมาแก้ไขใหม่หมด นอกจากจะเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น ซ้ำยังเสียเวลาในการแก้ไขปัญหาในส่วนนี้



6. มีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขแบบการก่อสร้าง

แน่นอนในส่วนนี้ ต้องยอมรับเลยว่ายากที่จะหลีกเลี่ยงได้ การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นเพียงเล็กน้อยอาจจะยังพอรับได้ แต่บางกรณีอาจเกิดการเปลี่ยนแปลงที่เยอะมาก โดยเฉพาะเวลามีการเปลี่ยนแปลงงานก่อสร้างเกิดขึ้น จึงทำให้ต้องหยุดการทำงานไว้ชั่วคราว เพื่อรอผลสรุปอีกครั้งในเรื่องของแบบ ดังนั้นการบริหารงานที่ว่าสำคัญแล้ว ในส่วนของตัวสัญญาที่ทำขึ้นนั้นก็สำคัญเช่นกัน ควรจะมีการตกลงและระบุขอบเขตรายละเอียดต่างๆ รวมไปถึงระยะเวลาที่ชัดเจน เพื่อไม่ให้เกิดความล่าช้าในการทำงานได้ในอนาคต







7. รอฤกษ์โครงการก่อสร้าง

ในการขึ้นโครงการ จะต้องมีในเรื่องของฤกษ์งามเข้ามาเกี่ยวข้อง โดยเฉพาะการรอฤกษ์สำหรับพิธีเสาเอก-เสาโทเพราะคนไทยมีความเชื่อเรื่องนี้ เป็นสถานการณ์ที่ผู้รับเหมาหลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่ถึงตอนนี้งานก่อสร้างได้ดำเนินการไปแล้วระดับหนึ่ง แรงงานต่าง ๆ ถูกระดมเข้ามาเพื่อเตรียมเทฐานราก เสา คาน พื้น ดังนั้นการวางแผนที่ดีคือต้องเตรียมการล่วงหน้าถามในเรื่องของวันเวลาให้ชัดเจนว่าฤกษ์วันไหน เพื่อที่จะใช้ในการวางแผนการทำงานให้ตรงกับความต้องการเจ้าของนั่นเอง



8. ฝนตกและวันหยุดในงานก่อสร้าง

ในการก่อสร้างในช่วงหน้าฝนนั้นดำเนินการได้ยากลำบาก โดยเฉพาะงานที่เกี่ยวข้องกับดินหรือ เรื่องวันหยุด โดยเฉพาะช่วงปีใหม่ สงกรานต์ 90% ของช่างจะขอลากลับบ้านแน่นอน จะเห็นว่าทั้ง 2 เรื่องนี้ มีความเหมือนกันก็คือคุณรู้อยู่แล้วงานก่อสร้างจะมีปัญหาช่วงไหน รู้ว่าจะหยุด คุณจะใช้เป็นข้ออ้างเรื่องงานล่าช้าไม่ได้ เพราะฉะนั้นจึงต้องวางแผนรับมือเหตุการณ์ต่าง ๆ นี้ให้ดี เช่น

เตรียมการทำงานอย่างไรกรณีฝนตก

จะเร่งงานยังไง ทำโอทีเพิ่มมั้ย หรือหาช่างมาเสริม

ฯลฯ



9. ปัญหาทางการเงินที่ใช้ในการก่อสร้าง

ปัญหานี้โดยส่วนใหญ่ เกิดจากการแบ่งงวดงานไม่ดีเลยติดขัดเรื่องเงินในแต่ละงวด เงินไม่พอ หมุนเงินไม่ทัน ทำให้ไม่มีเงินไปซื้อของ และก็ทำงานต่อไม่ได้ จึงทำให้เกิดความล่าช้าขึ้นไปอีก และยังมีเรื่องการบริหารเงิน ไม่ทำบัญชี ไม่แยกเงินส่วนตัวออกจากงาน ใช้เงินผิดวิธีอีก เป็นต้น



10. ไม่ควบคุมงานหรือควบคุมงานไม่ดีในการก่อสร้าง

ส่วนใหญ่มักมาตกม้าตาย ข้อสุดท้ายนี้ และถ้าผิดพลาดอาจต้องแลกกับราคาที่ต้องจ่ายสูง โดยเฉพาะจุดสำคัญ ๆ เช่น

วางผังผิด เสาไม่ได้ศูนย์

วางระดับผิด ระดับคานกับพื้นไม่สัมพันธ์กัน

วางตำแหน่งท่อไม่ได้ระยะ ต้องมาเจาะรื้อ

แนวคาน เสาบิดเบี้ยว ต้องมาสกัดแต่ง



ซึ่งยังกระทบงานส่วนอื่น มีปัญหาตามมามากมาย ดังนั้นงานหลายอย่าง ถ้าคุมงานไม่ดีตั้งแต่แรกก็อาจจะส่งผลกับงานที่ต้องทำต่อไปอย่างแน่นอน ซึ่งหลายๆครั้งที่เกิดการเร่งรีบ คิดว่ารวดเร็วแล้ว แต่ความจริงกลับช้ากว่าเดิมนั่นเอง



เป็นอย่างไรบ้างครับ 10 สาเหตุหลักที่ทำให้เกิดความล่าช้าในการก่อสร้าง ความจริงแล้วยังมีอีกมากมาย แต่วันนี้เราสรุปมาให้เพียงแค่ เหตุผลหลักๆที่มักจะเจอ คงจะเห็นแล้วว่าการว่างแผนงานที่ดีนั้นสำคัญมากขนาดนั้นในการบริหารงานก่อสร้าง เพื่อให้บรรลุตามเป้าหมาย ระยะเวลาที่กำหนด ดังนั้น โรงเรียนธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ไทย โรงเรียนมีเปิดสอนหลักสูตรอบรมระดับนานาชาติ ได้มองเห็นถึงปัญหานี้ จึงได้จัดการอบรมหลักสูตรที่เกี่ยวข้องขึ้นนั่นก็คือ หลักสูตร การบริหารงานก่อสร้าง แนวราบ-แนวสูง (RE171) ซึ่งมากด้วยผู้มีความรู้ และประสบการณ์ชั้นนำมากมาย









สนใจติดต่อและสอบถามบริการ AREA (ประเมิน-วิจัย) และ TREBS (อบรม-สัมมนา)

โทร: 02-295-3905 ต่อ 114 (K.สัญชัย)
ID: @trebs หรือคลิก https://line.me/R/ti/p/@trebs



ขอขอบคุณข้อมูลจาก: เพจ “ผู้รับเหมาพันธุ์ใหม่”


[Tag] : อบรมก่อสร้าง , หลักสูตรก่อสร้าง , การบริหารงานก่อสร้าง , ก่อสร้าง , ประมาณราคาก่อสร้าง , ราคาประเมินค่าก่อสร้างอาคาร , การประมาณ ราคาก่อสร้าง , ธุรกิจก่อสร้าง , ราคาค่าก่อสร้าง