[ใหม่] เหรียญหลวง พ่อบุญเย็น ฐานธัมโม (เป็นเหรียญที่มีประสบการณ์แล้วหลายเหตุการ มีทั้งด้าน เมตตา ค้าขาย แคล้วคลาด ยิงไม่ออก ยิงไม่เข้า ใช้ได้108)รับประกันพระแท้

436 สัปดาห์ ที่แล้ว - เชียงใหม่ - เมืองเชียงใหม่ - คนดู 168
รายละเอียด
เหรียญหลวง พ่อบุญเย็น ฐานธัมโม (เป็นเหรียญที่มีประสบการณ์แล้วหลายเหตุการ มีทั้งด้าน เมตตา ค้าขาย แคล้วคลาด ยิงไม่ออก ยิงไม่เข้า ใช้ได้108)รับประกันพระแท้

โทร : 092-2680527
Line ID : tingly12345
เชียงใหม่
ดูของได้แถวสนาม 700 ปี
ติดต่อสอบถาม (เพิ่มเพื่อนแล้วทักมาเลย) http://www.facebook.com/wattumongkong

รายการพระเครื่องอื่นๆอีกมากมาย http://watthumongkol-cm.lnwshop.com/

EMS 50 บาท

B1 = 999 ฿ EMS 50 บาท
B2 = 799 ฿ EMS 50 บาท
B3 = 699 ฿ EMS 50 บาท
B4 = 499 ฿ EMS 50 บาท
B5 = 699 ฿ EMS 50 บาท
B6 = 699 ฿ EMS 50 บาท
B7 = 599 ฿ EMS 50 บาท
B8 = 499 ฿ EMS 50 บาท
B9 = 599 ฿ EMS 50 บาท
B10 = 599 ฿ EMS 50 บาท
B11 = 499 ฿ EMS 50 บาท
B12 = 599 ฿ EMS 50 บาท
B13 = 399 ฿ EMS 50 บาท
B14 = 399 ฿ EMS 50 บาท
B15 = 499 ฿ EMS 50 บาท
กลับมาโด่งดังในห้วงนี้ เพราะประสบการณ์จากผู้นำไปพกพาอาราธนาติด ตัวแท้ๆ "เหรียญรุ่นปี 2517 ของ หลวงพ่อบุญเย็น ฐานธัมโม" แห่งสำนักพระ เจ้าพรหมมหาราช อ.ฝาง จ.เชียงใหม่

แม้ มิใช่เหรียญที่สร้างขึ้นเป็นอันดับ แรกของทำเนียบ แต่ก็เป็นเหรียญแรกซึ่งออกแบบให้ด้านหน้าของเหรียญเป็นรูป หลวงพ่อบุญเย็น ขนาดครึ่งองค์ ด้านหลังเป็นรูปพระเจ้าพรหมมหาราช ทั้งนี้ เนื่อง จากเชื่อว่าหลวงพ่อบุญเย็น ในอดีตชาติปางก่อนเคยมีความสัมพันธ์กับพระเจ้าพรหมมหาราช

ดัง นั้น ทุกครั้งที่หลวงพ่อบุญเย็น จะประกอบพิธีปลุกเสกเหรียญ หรือพระเครื่อง เครื่องรางของขลัง ท่านต้องทำพิธีอัญเชิญ "พระเจ้าพรหมมหาราช" ร่วมพิธีด้วยทุกครั้ง เหรียญทุกเหรียญของท่านต้องมีรูปพระเจ้าพรหมมหาราช ที่ด้านหลังเหรียญเสมอ และที่สำคัญที่สุดคือ เหรียญที่ท่านเป็นผู้สร้างขึ้นนี้ ท่านไม่เคยจำหน่ายเลย มีแต่แจกฟรีทุกเหรียญ

ทุก คนที่ได้เหรียญรุ่นนี้ของท่านไปต่างมีความหวงแหนเป็นอย่างยิ่ง เพราะมีอานุภาพในทางคุ้มครองป้องกันตัวเป็นเลิศ นอกจากนี้ ยังอุดมไปด้วยโชคลาภอย่างน่ามหัศจรรย์ด้วย

"ด.ต.สมบูรณ์ จอมกิจ" ซึ่งอาราธนาเหรียญหลวงพ่อบุญเย็น รุ่นปี 2517 ติดต่อเสมอมา เล่าว่า เหรียญรุ่นนี้เป็นเหรียญที่หลวงพ่อ บุญเย็น ปลุกเสกเดี่ยวในป่าช้าเป็นเวลา 3 เดือน ตลอดพรรษา ครั้นเมื่อออกพรรษาแล้วจึงนำไปปลุกเสกซ้ำตามสถานที่ต่างๆ ความศักดิ์สิทธิ์จึงไม่ต้องสงสัย เพียงข้ามคืนที่มีการเริ่มแจกจ่ายออกไป เหรียญรุ่นนี้ก็ ดังแล้ว เพราะ ได้แสดงอิทธิปาฏิหาริย์ต่างๆ ให้ประจักษ์มากมาย เช่น
"ตอน ที่ผมได้เห็นคนผีเข้า ซึ่งญาติได้พยายามหาหมอผีเก่งๆ มาปราบแต่ก็ไม่สำเร็จ แต่เมื่อมีผู้นำเหรียญ "หลวงพ่อบุญเย็น" รุ่นนี้ไปแช่น้ำอธิษฐานทำน้ำ มนต์ไปพรมผู้ที่ถูกผีเข้า ปรากฏว่าผีนั่นแหละที่ต้องเป็นฝ่ายเผ่นหนี"

"ด.ต.สมบูรณ์" ได้เล่าถึงประสบการณ์ชีวิตของตนว่า ในชีวิตเคยผ่านการเกณฑ์ทหารมา 2 ปีแล้วมาเป็นตำรวจตระเวนชายแดน และเหรียญรุ่นพ.ศ.2517 นี้ ได้ช่วยคุ้มครองให้ แคล้ว คลาดจากภยันตรายต่างๆ ตลอดมา กล่าวคือ เหตุการณ์ถูกฝ่ายตรงข้ามลอบทำร้าย มักจะเกิดขึ้นก่อนหรือไม่ก็หลังจากผู้เล่านำกำลังเคลื่อนที่ผ่านพ้นไปแล้ว เสมอ อีกเรื่องหนึ่งเคยมีแพทย์อาสาสมัครขึ้นไปบนดอย แล้วถูกยิงด้วย เอ็ม-16 เป็นชุด แต่คมกระสุนก็สามารถสร้างได้เพียงจ้ำแดงเหมือนผื่นเท่านั้น

เหรียญเมตตาหลวงพ่อบุญเย็น ฐานธัมโม สำนักพระเจ้าพรหมมหาราช อ.ฝาง จ.เชียงใหม่++

"ประวัติ พระพรหมมหาราช วัดพรหมมหาราช"
ใน พุทธศตวรรณที่ 11 ไทยได้อพยพครั้งใหญ่จากดินแดนบางส่วนของจีนลงมาทางใต้มาส้องสุมผู้คนอยู่ทาง ลำน้ำโขงตอนเหนือ อันเป็นแหล่งของชาติละว้ามาก่อน พระเจ้าสิงหนวัติ กษัตริย์ไทยในสมัยนั้น ทรงตั้งราชธานีขึ้นใน พ.ศ. 1111 และขนานนามว่า “โยนกนาคนคร” และให้นามแคว้นว่า “แคว้นโยนกเชียงแสน” มี อาณาเขตตลอดสิบสองปันนา จนถึงเมืองหนองแสทางใต้ถึงแดนหริภูญชัยของขอม อาณาจักรของไทยในส่วนนี้ บางตอนก็เถลิงอำนาจเป็นใหญ่ และขับไล่ขอมออกจากราชอาณาจักรไป ส่วนบางตอนก็ตกอยู่ภายใต้อำนาจขอมเหมือนกันในรัชสมัยของพระเจ้าพังคราช ทรงถูกขอมขับไล่ออกจากโยนกนาคนคร เมี่อปี พ.ศ. 1640 ได้ไปอยู่ที่เมืองส่วยเมืองหนึ่งชื่อว่า “เวียงสีทอง” ริม แม่น้ำสายทิศตะวันออกเฉียงเหนือของ โยนกนคร แล้วขอมก็เข้าครอบครองโยนกนาคนครต่อไปพระเจ้าพังคราชทรงมีพระราชโอรสองค์แรก ทรงพระนามว่า “ทุกขิตกุมาร” (เหตุ ที่ได้รับพระนามเช่นนี้ สันนิษฐานว่าเป็นบ่อเกิดของความทุกข์ เพราะต้องถูกเนรเทศออกจากโยนกนาคนคร) ต่อมาใน พ.ศ. 1645 ทรงมีพระราชโอรสอีกคนหนึ่ง ทรงพระนามว่า “เจ้าพรหมกุมาร” ทรง มีวรรณผุดผ่อง และมีศิริลักษณ์งดงามยิ่งนักเจ้าพรหมกุมาร มีพระทัยชอบในการสงครามมาแต่ทรงพระเยาว์ อันแสดงถึงความเป็น นักรบมาแต่กำเนิด ครั้งหนึ่งได้ทรงสุบินนิมิตว่า ช้างคู่บารมีของพระองค์อยู่ในแม่น้ำสายซึ่งมีช้างเผือกถึงสามเชือก หากจับช้างเผือกตัวที่หนึ่งจะมีอำนาจมากปราบได้ทั้ง 4 ทวีป และถ้าจะจับได้ตัวที่สองจะได้ปกครองชมพูทวีป ส่วนตัวที่ 3 หากจับได้ปกครองอาณาเขตดังเดิมพระเจ้าพรหมได้กระทำตามศุภนิมิตครั้งนี้ พระองค์ตรงไปที่แม่น้ำสาย แทนที่จะเห็นช้างเผือกกลับกลายเป็นงูใหญ่ลอยมาตามน้ำ 3 ตัว ตัวที่ 1 ผ่านไป พระองค์ไม่จับ ตัวที่สองผ่านไปพระองค์ก็ไม่จับอีก พอตัวที่สาม พระองค์ทรงจับ ก็เกิดเหตุอัศจรรย์ งูนั้นกลับกลายเป็นช้างเผือกรูปร่างสง่างาม ช้างเผือกนี้ไม่อาจขึ้นจากน้ำได้ พระเจ้าพังคราชจึงให้ทำกรุดึงด้วยทองหนังพันชั่ง ให้พระเจ้าพรหมตีกระดิ่งนั้น ช้างเผือกจึงขึ้นจากน้ำได้ ตำบลนั้นจึงปรากฏนามว่า “ตำบลควานทวน” และช้างเผือกนั้นได้ชื่อว่า “ช้างพางคำ”เมื่อ ได้ช้างพางคำมาแล้ว พระเจ้าพรหมได้ทรงปรับปรุงบ้านเมืองให้เข้มแข็งกว่าแต่ก่อนเปลี่ยนชื่อเวียง สีทองเป็นพางคำ และทรงฝึกซ้อมทหารให้มีความชำนาญในการรบเพื่อทำการต่อต้านสู้รบกับขอมพระยา ขอมรู้เรื่องราวจึงได้ยกทัพมาตีเมืองพางคำ แต่ก็ไม่สามารถต้านทานกำลังของ พระเจ้าพรหมได้ จึงถูกโจมตีแตกพ่ายไป พระเจ้าพรหมได้ตามตีจนได้โยนกนาคนครกลับคืนมาตามเดิมเมื่อได้โยนกนาคนครกลับ คืนมาแล้วจึงได้ยกทัพเข้าตีขอมจนแตกกระจัดกระจายไป จนกระทั่งมาถึงเมืองกำแพงเพชร (ตามตำนานกล่าวว่าพระอินทร์เกรงว่าการที่พระเจ้าพรหมยกทัพเข้าโจมตีขอมไม่ หยุดยั้ง อาจทำให้เกิดอันตรายแก่ชีวิตมนุษย์และสัตว์มากมาย จึงได้ให้ พระวิษณุกรรมลงมาเนรมิตกำแพงศิลากั้นเอาไว้แต่ทางการสันนิษฐานกล่าวว่าการ ที่พระเจ้าพรหม ยกกองทัพมาถึงเมืองกำแพงเพชรเท่านั้น อาจเป็นเพราะเสบียงอาหารหมด ไพร่พลก็ก่อนกำลังลง และได้อาณาเขตกว้างขวางมากพออยู่แล้ว พอที่จะใช้สกัดกั้นทัพของขอมก็เป็นได้)พระเจ้าพรหมตีได้โยนกนาคนคร หลังจากเสียเอกราชให้ขอมไปเมื่อปี พ.ศ.1640 แล้ว เป็นเวลา 19 ปี ต่อมาในราว พ.ศ. 1659 ได้สถาปนาเมืองโยนกนาคนครเป็นราชธานีดังเดิม เปลี่ยนนามใหม่ว่านครชัยบุรีย์ และได้สร้างนครใหม่ทางริมแม่น้ำฝาง ซึ่งไหลมาต่อกับแม่น้ำกก ฝั่งใต้ ขนานนามนครนี้ว่า “นครไชยปราการ” พร้อม กับให้พระเจ้าทุกขติกุมาร พระเชษฐาธิราชไปครองเมืองพางคำเพื่อป้องกันการรุกรานของขอมในยุคนี้มีพวกไทย ที่อยู่ฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขงต่างก็อพยพข้ามฟากมาตั้งภูมิลำเนาในแคว้นโยนก ฝั่งขวามากขึ้น นับว่าพระองค์สามารถรวบรวมพวกไทยที่แตกกระจัดกระจายนั้น ให้รวมอยู่ด้วยกันเป็นปึกแผ่น ภายใต้อาณาจักรในแคว้นลานนาไทยผลงานของพระเจ้าพรหมมหาราช เท่าที่กล่าวมาแล้วข้างต้นนั้น ย่อมเป็นอนุสรณ์ ให้ประชาชาติไทยระลึกถึงพระองค์อยู่เสมอ แม้นว่าพระองค์จะเสด็จล่วงลับไปแล้วเป็นเวลานานร่วมพันปีเศษ